Search Tire

Categories of Tires

๏ปฟ
Statistic
 เธงเธฑเธ™เธ™เธตเน‰
99 เธ„เธ™
 เน€เธกเธทเนˆเธญเธงเธฒเธ™
603 เธ„เธ™
 เน€เธ”เธทเธญเธ™เธ™เธตเน‰
10,004 เธ„เธ™
 เน€เธ”เธทเธญเธ™เธ—เธตเนˆเนเธฅเน‰เธง
13,691 เธ„เธ™
 เธ›เธตเธ™เธตเน‰
53,107 เธ„เธ™
 เธ›เธตเธ—เธตเนˆเนเธฅเน‰เธง
188,292 เธ„เธ™
บทความเกี่ยวกับยาง


รู้จักกับโครงสร้างและส่วนประกอบของยางรถยนต์

    รู้จักกับโครงสร้างและส่วนประกอบของยางรถยนต์


           โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์สามารถจำแนกส่วนประกอบออกได้เป็น 6 ส่วน ส่วนประกอบแต่ละส่วนถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับหน้าที่และประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนดังนี้


ขับรถลุยน้ำท่วม


          1. หน้ายาง (Tread) คือส่วนประกอบที่อยู่นอกสุดของยาง และเป็นส่วนเดียวที่สัมผัสผิวถนน ทำหน้าที่ป้องกันของมีคม ที่จะทำอันตราย ต่อโครงยาง ที่หน้ายางจะประกอบไปด้วยดอกยางและร่องยาง เพื่อทำหน้าที่ในการยึดเกาะถนน มีแรงกรุยเวลาวิ่ง เบรคหยุดได้มั่นใจ ในปัจจุบัน ดอกยางมีอยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป  ดังนั้น ผู้ใช้จึงควรเลือกชนิดของดอกยาง ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน


          2. ไหล่ยาง (Shoulder)
เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างหน้ายางกับแก้มยาง มีความหนาพอๆ กับหน้ายาง ปกติไหล่ยาง จะถูกออกแบบเป็นร่องให้เหมาะสม เพื่อช่วยระบายความร้อนภายในยางให้ออกมาได้ง่าย


          3. แก้มยาง (Sidewall)
เป็นส่วนด้านข้างสุดของยาง ที่ไม่ได้สัมผัสพื้นผิวถนนขณะที่รถวิ่งอยู่และเป็นส่วนที่ยืดหยุ่นมากที่สุดของยางในขณะใช้งาน


          4. โครงยาง (Carcass)
เป็นส่วนประกอบหลักของยาง ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่คงรูปร่าง และจะรักษาความดันลมภายในยาง เพื่อให้ยางสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ รวมทั้งต้องทนทานต่อแรงกระแทก หรือสั่นสะเทือนจากถนนที่มีต่อยางได้ดี 


          5. ผ้าใบเสริมหน้ายาง หรือเข็มขัดรัดหน้ายาง (Breaker or Belt)
เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างหน้ายาง (Tread) กับโครงยาง (Carcass) ในกรณียางธรรมดา (Bias Tire) เราเรียกว่า “ผ้าใบเสริมหน้ายาง (Breaker)” และในกรณียางเรเดียล (RadialTire) จะเรียกว่า “เข็มขัดรัดหน้ายาง (Belt)” ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรง ให้กับหน้ายาง ให้ยางสามารถรับแรงกระแทกได้ดี และป้องกันไม่ให้โครงยางชำรุดเสียหายจากสิ่งอันตรายต่างๆ จากพื้นถนน


          6. ขอบยาง (Bead) 
ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นลวดเหล็กกล้า (High Carbon Steel) ที่ช่วยยึดส่วนปลายทั้ง 2 ข้างของโครงยางเอาไว้ เพื่อให้บริเวณขอบยาง (Bead) มีความแข็งแรง สามารถยึดแน่นสนิทกับกระทะล้อได้ดีเมื่อนำไปใช้งาน 


         สำหรับยางรถยนต์ที่ไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) ขอบยางเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมยางรั่วซึมออกมา  นอกจากนี้ ยังมียางรถยนต์ยังมีส่วนประกอบย่อยอื่นๆ เช่น ผ้าใบหุ้มขดลวดและยางแข็งๆ ที่มีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม (Bead Filer) ทำหน้าที่เชื่อมต่อ ระหว่างส่วนที่แข็ง คือบริเวณขอบยาง ไปสู่ส่วนที่อ่อนและยืดหยุ่น คือบริเวณแก้มยาง และยังมีผ้าใบหุ้มขอบลวดที่อยู่ด้านนอกสุดของขอบยาง เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายกับโครงยาง จากการถอดประกอบเข้ากับกระทะล้อในแต่ละครั้ง

 

         หน้าที่สำคัญ 4 ประการของยาง

 

         ยางรถยนต์นั้น มีหน้าที่สำคัญถึง 4 ประการ ที่จะช่วยให้คุณขับรถได้อย่างปลอดภัย

 

         ประการที่ 1 คือ รถ 1 คัน จะหนักประมาณ 1.6 ตัน หรือเทียบเท่ากับคน 32 คน ซึ่งความดันลมในยางจะเป็นตัวช่วยในการรับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกเหล่านี้ไว้ทั้งหมด


         ประการที่ 2 ลมในยางจะทำหน้าที่เหมือนสปริงช่วยลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนจากพื้นถนนในขณะขับขี่ 


         ประการที่ 3 ยางจะเป็นตัวกลางถ่ายทอดพลังการขับเคลื่อน และการหยุดรถลงสู่พื้นผิวถนน ทำให้รถสามารถเคลื่อนตัวหรือหยุดลงได้


         ประการที่ 4 ในการหมุนพวงมาลัยจะทำให้ยางล้อหน้าหมุน จึงทำให้รถสามารถมุ่งไปในทิศทางที่ต้องการได้

 

         จะเห็นว่ายางรถยนต์มีหน้าที่ที่สำคัญ ดังนั้น อย่าลืมหมั่นดูแลรักษาและใช้ยางให้ถูกวิธี เพื่อจะได้ใช้งานได้คุ้มค่า และปลอดภัย

 

          ดอกยาง

 

          การเลือกใช้ลักษณะดอกยางให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพการใช้งานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จาก การใช้งานอย่างเต็มที่ และตอบสนองลักษณะการขับขี่ที่แตกต่างกันด้วยลายดอกยาง จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนามาโดยตลอดจน ปัจจุบันมีลายดอกยางมากมายนับไม่ถ้วน อย่างไรก็ดีหากแบ่งลายดอกยางโดยคำนึงถึงทิศทางการเคลื่อนที่ สามารถแบ่งได้ใน  2 ลักษณะ คือ


ขับรถลุยน้ำท่วม


         1) ดอกยางแบบ 2 ทิศทาง
             เป็นลักษณะของลายดอกยางที่จะสามารถสลับยางได้ในทุกตำแหน่งล้อของรถ ลักษณะดอกยางทั้ง 2 ด้าน จะสวนทิศทางกันหาก เป็นการขับขี่ทั่วไปไม่เน้นความเร็วสูง ดอกยางลักษณะนี้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างดีเยี่ยม

 

         2) ดอกยางทิศทางแบบทิศทางเดียว (Uni-Direction)
              ลายของดอกยางจะถูกบังคับให้หมุนไปในทิศทางเดียวเท่านั้น โดยมีลูกศรบอกทิศทางการหมุนอยู่ที่แก้มยางทั้ง 2 ด้าน ดังนั้น การสลับยางจะสลับได้เพียงด้านเดียวเท่านั้น เช่น สลับด้านหน้าขวากับหลังขวา หรือด้านหน้าซ้ายกับหลังซ้ายเว้นแต่จะถอดตัว ยางออกจากกระทะล้อเดิมไปใส่กับกระทะล้อฝั่งตรงกันข้าม แต่ต้องจัดวางทิศทางการหมุนของดอกยางให้ถูกต้องเช่นเดิม มิเช่นนั้น แล้วจะทำให้ทิศทางการหมุนของยางเปลี่ยนกลับทิศทางทำให้ประสิทธิภาพของยางลดลง จุดเด่นของดอกยางแบบทิศทางเดียว คือ สามารถไล่น้ำออกจากหน้ายางได้รวดเร็วกว่าแบบ 2 ทิศทางป้องกันอาการเหินน้ำ (Hydroplaning) ซึ่งจะทำให้ควบคุมบังคับ รถได้ลำบากและเกิดการลื่นไถลได้ง่าย

 

         ดอกยางกับร่องยางทำหน้าที่ต่างกัน

         ยางรถยนต์โดยทั่วไป จะมีทั้งดอกยางและร่องยาง ยกเว้นยางรถแข่งบางประเภท ที่ใช้วิ่งบนถนนเรียบและแห้งซึ่งยางที่ใช้ จะมีลักษณะหน้ายางเรียบ ไม่มีดอกยางและร่องยาง

         การที่ยางรถยนต์ต้องมีทั้งดอกยางและร่องยางก็เพราะ ดอกยางเป็นส่วนหนึ่งของหน้ายางที่สัมผัสกับพื้นถนน มีหน้าที่หลักในการยึดเกาะถนน ส่วนร่องยางหรือร่องที่อยู่ระหว่างดอกยางนั้น ไม่ได้สัมผัสกับพื้นถนน จึงไม่ได้ทำหน้าที่ในการยึดเกาะถนน แต่ทำหน้าที่รีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อช่วยให้ดอกยางสัมผัสกับพื้นถนน เมื่อต้องขับขี่บนถนนเปียก

         กล่าวโดยสรุปก็คือ ยางที่ไม่มีทั้งดอกยางและร่องยาง จะเกาะถนนได้ดีเฉพาะบนถนนที่เรียบและแห้งเท่านั้น แต่ถ้าเป็นสภาพถนนเปียกจะลื่นมาก เพราะหน้ายางที่ไม่มีดอกยาง และร่องยางจะไม่สามารถรีดน้ำออกจากหน้ายางได้อย่างรวดเร็ว น้ำจะกลายเป็นชั้นฟิล์มคั่นอยู่ระหว่างยางกับผิวถนน ทำให้เกิดการเหินน้ำได้ เนื่องจากหน้ายางสัมผัสพื้นไม่เต็มที่ หรือไม่สัมผัสพื้นเลย ทำให้เกิดการลื่นไถลได้ ดังนั้น ในสภาพการขับขี่ในชีวิตประจำวันบนถนนปกติทั่วไปแล้ว ยางรถยนต์จึงจำเป็นต้องมีทั้งดอกยาง และร่องยางอยู่เสมอ

 

          แก้มยาง ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของยาง

 



          ตัวเลขและตัวอักษรต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนแก้มยางรถยนต์นั้น สามารถบ่งบอกถึงคุณสมบัติของยางได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นขนาดของ ยาง เช่น หน้ากว้าง ซีรี่ส์ ขนาดขอบกระทะล้อ และยังบ่งบอกถึงขีดจำกัด ความเร็วสูงสุด, ดัชนีในการรับน้ำหนักของยางเส้นนั้นๆ รวม ไปถึงคุณสมบัติอื่นๆ อีกด้วยซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถือว่าเป็นข้อมูลทั่วๆไป ที่ท่านเจ้าของรถควรจะทราบเพื่อที่จะได้เลือกซื้อยางในครั้ง ต่อไปได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับรถยนต์ของท่าน

         สำหรับตัวเลขที่อยู่บนแก้มยางของรถเก๋ง โดยทั่วไปจะมีลักษณะดังตัวอย่างต่อไปนี้

195/60R14 85H
195คือความกว้างยาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
60คือซีรีส์ยาง
Rคือโครงสร้างยางแบบเรเดียล
14คือเส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ มีหน่วยเป็นนิ้ว
85คือดัชนีในการรับน้ำหนักของยางต่อเส้น
Hคือขีดจำกัดความเร็วสูงสุด

สำหรับความหมายของตัวเลขและตัวอักษรบนแก้มยางรถกระบะ มีลักษณะดังนี้

195R14C 8PR
195คือความกว้างยาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
Rคือโครงสร้างยางแบบเรเดียล
14คือเส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ มีหน่วยเป็นนิ้ว
Cคือยางที่ใช้เพื่อการขนส่ง (มาจากคำว่า commercial)
8PRคืออัตราชั้นผ้าใบเทียบเท่า 8 ชั้น
(ในส่วนของซีรีส์ ถ้าไม่ได้ระบุ คือ ซีรีส์ 80)

ความหมายของตัวเลขและตัวอักษรบนแก้มยางรถขับเคลื่อน 4 ล้อ จะมีลักษณะดังนี้

31x10.5R15
31คือเส้นผ่าศูนย์กลางยาง มีหน่วยเป็นนิ้ว
10.5คือความกว้างยาง มีหน่วยเป็นนิ้ว
Rคือโครงสร้างยางแบบเรเดียล
15คือเส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ มีหน่วยเป็นนิ้ว



         คุณรู้หรือไม่ จุดสีเหลืองและจุดสีแดงบนแก้มยางมีความหมายอย่างไร 

         โดยทั่วไปยางรถยนต์จะมีตัวเลขและตัวอักษรต่างๆ บนแก้มทั้ง 2 ด้าน ซึ่งจะบ่งบอกถึงขนาดและคุณสมบัติของยาง และนอกจากนี้ยังมีจุดสีเหลืองและสีแดงปรากฎอยู่บนแก้มยางอีกด้วย ซึ่งจุดสีดังกล่าวนี้จะมีอยู่เพียงด้านเดียวบนแก้มยาง แต่ในบางรุ่นหรือบางขนาดจะมีทั้งจุดสีเหลืองและจุดสีแดงบนยางเส้นเดียวกัน ซึ่งจุดสีเหลืองและสีแดงนั้นมีความหมายดังนี้ 

ขับรถลุยน้ำท่วม

 

          จุดสีเหลือง คือ บริเวณที่ยางมีน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับบริเวณอื่น เมื่อนำยางมาประกอบกับกระทะล้อ ควรให้วาล์วเติมลมตรงกับจุดสีเหลืองนี้ เพื่อช่วยให้น้ำหนักของยางสมดุลดีกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยให้การถ่วงล้อทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

ขับรถลุยน้ำท่วม

          จุดสีแดง คือ บริเวณที่หน้ายางมีค่าความโค้งตามแนวรัศมีมากกว่าบริเวณอื่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางที่ส่งให้กับโรงงานประกอบรถยนต์ ที่ใช้ประโยชน์จากจุดแดงนี้ เนื่องจากกระทะล้อที่ส่งมาเพื่อประกอบกับยางจะมีจุดที่แสดงค่าความโค้งที่ขอบกระทะล้อด้วยเช่นกัน เมื่อประกอบให้จุดทั้ง 2 ตรงกัน จะช่วยให้ยางเส้นนั้นมีความกลมตามแนวรัศมีดียิ่งขึ้น 

          ทั้งนี้ ในการติดตั้งยางเข้ากับตัวรถ จุดสีเหลืองและจุดแดงจะอยู่ด้านนอกหรือด้านในไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ทิศทางการหมุนของดอกยางเป็นสำคัญซึ่งจะมีทั้งแบบดอกยางธรรมดาและดอกยางแบบทิศทางเดียว

 

         การเปลี่ยนขนาดยาง

 

         ข้อคำนึงการเปลี่ยนยาง
โดยปกติแล้ว ยางที่ติดรถออกมาจากโรงงานประกอบของรถแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นนั้น เป็นยางที่เหมาะสมกับการใช้งานที่สุดที่ทาง บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้ทดสอบแล้วแต่เนื่องจากผู้ขับขี่แต่ละรายอาจมีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น ต้องการให้เกาะถนนดีขึ้นเมื่อ ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ เพื่อความนุ่มนวลที่เพิ่มมากขึ้นผู้ขับขี่จึงต้องการเปลี่ยนขนาดยางให้เหมาะสม และตรงกับลักษณะการ ใช้งาน ซึ่งการเปลี่ยนยางใหม่แทนยางชุดเก่าให้มีขนาดที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการเปลี่ยนขนาดยางที่ขนาด ยางเส้นใหม่ มีความแตกต่างไปจากขนาดเดิมนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงอยู่ 2 ประการ คือ

 

        1) ความสามารถในการรับน้ำหนัก ต้องใกล้เคียงขนาดเดิม

 

        2) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของยาง ต้องใกล้เคียงขนาดเดิม การเปลี่ยนขนาดยางไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดผลเสีย ดังนี้

 

             ขนาดยางเล็กไป

             - ความสามารถในการรับน้ำหนักลดลง

             - สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

             - มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

 

             ขนาดยางใหญ่ไป

             - ยางเสียดสีกับส่วนหนึ่งส่วนใดของรถ

             - พวงมาลัยหนักขณะใช้ความเร็วต่ำ

             - มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

 

ขับรถลุยน้ำท่วม

 

ขนาดยาง165
R13
185/70
R013
205/60
R13
185/65
R14
195/60
R14
195/55
R15
205/50
R15
ซีรี่ส์80706065605550
เส้นผ่าศูนย์กลาง
ยาง (มม.)
594590576596590595587
ความสามารถใน
การรับนํ้าหนัก
สูงสุด (ก.ก./เส้น)
475515515515515487515
คาวมดันลมยาง
สูงสุด
(ปอนด์/ต.ร.น.
33363636363636

 


คำแนะนำ : 1. ตารางการเปลี่ยนขนาดยางนี้ จะต้องพิจารณาใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของกระทะล้อ
และสภาพการใช้งานของรถยนต์แต่ละคัน

 

                    2. ควรตรวจสอบถึงข้อแนะนำการเลือกใช้ยางของผู้ผลิตรถยนต์ ก่อนทำการเปลี่ยนไปใช้
ยางขนาดใหม่

 

          ดัชนีการรับน้ำหนัก

 

          ดัชนีการรับน้ำหนัก (Li) คือ ตัวเลขที่ใช้แทนค่าความสามารถในการรับน้ำหนักสูงสุดของยาง 1 เส้น (kg) ที่ลมยางตามมาตรฐาน และ อยู่ในขีดจำกัดความเร็วตามที่บริษัทผู้ผลิตยางกำหนดไว้ 

 

         ปัจจัยที่มีผลต่อการสึกหรอของยาง

 

         ยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ทำให้รถยนต์เคลื่อนที่ไปได้ และยางรถยนต์ยังเป็นชิ้นส่วนเดียวของรถยนต์ที่สัมผัสกับพื้นถนน  ดังนั้น เมื่อมีการใช้งานไปนานๆ ยางก็ย่อมเกิดการสึกหรอ หากแต่การสึกหรอของดอกยางจากการใช้งานของผู้ขับขี่แต่ละคนจะ แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งาน และการดูแลรักษาเป็นสำคัญ นอกจากนี้อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกด้วยซึ่งปัจจัย หลักที่มีผลต่อการสึกหรอมี ดังนี้

 

         ความดันลมยาง

         การเติมลมยางอ่อนกว่ามาตรฐาน ทำให้อายุยางสั้นลงบริเวณไหล่ยางจะเกิดความร้อนสูงและสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ซึ่งอาจทำให้เนื้อยางไหม้และโครงสร้างยาง แยกตัวออกจากกันอันนำไปสู่การบวมล่อนและระเบิดของยาง นอกจากนี้ อาจทำให้โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาดหรือหักได้ 
และยังเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันอีกด้วย

 

         การเติมลมยางมากเกินไป
         ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่สัมผัสของหน้ายางกับพื้นถนนลดลง อาจทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่าย และโครงยางอาจระเบิดได้ ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก หรือถูกตำเนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อยอายุยางก็จะลดน้อยลง เนื่องจาก ดอกยางจะสึกบริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่น และทำให้ความนุ่มนวลในขณะขับขี่ลดลงอีกด้วย

         น้ำหนักบรรทุก 
         การบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้มีการบิดตัวบริเวณหน้ายางที่สัมผัสพื้นผิวถนนมาก ทำให้เกิดความร้อนได้ง่ายเป็นผลให้มี การสึกหรอของเนื้อยางอย่างรวดเร็ว อายุยางก็จะสั้นลง

         ความเร็ว 
         ขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูงจะมีแรงเสียดทานและความร้อนที่เกิดขึ้นตามมาด้วย ซึ่งจะมีผลต่อความต้านทานต่อการสึกหรอทำให้ อายุของยางลดลงตามไปด้วย 

         การเบรกและการออกตัว
         ในขณะที่รถยนต์วิ่งอยู่บนถนนจะเกิดแรงเฉื่อยซึ่งมีค่าสูงกว่าความเร็ว ดังนั้น เมื่อเบรกจนล้อหยุดหมุนแล้วแรงเฉื่อยของตัวรถจะดัน ให้ล้อลื่นไถลไปกับพื้นถนนทำให้ยางเกิดการสึกหรอ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะในการเบรกเป็นสำคัญ ส่วนการออกตัวอย่างรุนแรงทำให้ล้อหมุนฟรี หน้ายางจะเสียดสีกับพื้นถนนอย่างหนักทำให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น

         สภาพรถยนต์ 
         เช่น ช่วงล่างและศูนย์ล้อมีผลอย่างมากกับการสึกหรอที่รวดเร็ว หากระบบศูนย์ล้อผิดพลาดไปจากสเปคของรถจะทำให้เกิด
แรงเสียดทานและลื่นไถลที่หน้ายางมากกว่าปกติ

         สภาพผิวถนน
         ผิวถนนยิ่งราบเรียบมาก ยางก็จะยิ่งสึกหรอช้าใช้งานได้นานกว่าการขับรถบนถนนที่ขรุขระ เพราะความต้านทานต่อการหมุนบนถนน เรียบมีน้อยกว่า ยางจึงเสียดสีกับผิวถนนเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยแรงที่น้อยกว่า นอกจากนี้ ลักษณะเส้นทางก็มีผลเช่นกัน การขับขี่บนทางตรงจะเกิดการสึกหรอช้ากว่าการขับขึ้นเขา หรือขับบนถนนที่คดเคี้ยว

         สภาพภูมิอากาศ
         ยางรถยนต์มีส่วนผสมหลักเป็นยางธรรมชาติ จึงทนต่ออุณหภูมิสูงได้น้อยกว่ายางสังเคราะห์ ดังนั้น หากยางเกิดความร้อนมากขึ้น จากการใช้งานก็จะยิ่งส่งผลต่อการสึกหรอที่รวดเร็วขึ้น

         ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้การสึกหรอเกิดขึ้นช้าที่สุด สม่ำเสมอใกล้เคียงกันในทุกตำแหน่งล้อ และให้ประสิทธิภาพของยาง
แต่ละเส้นใกล้เคียงกันมากที่สุด คือ ควบคุมปัจจัยอันเป็นสาเหตุหลักของการสึกหรอของยาง โดย

 

         - ตรวจเช็คและปรับแต่งความดันลมยางให้อยู่ในค่ามาตรฐานด้วยวิธีการที่ถูกต้องเป็นประจำในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ หรือก่อนการใช้งาน

         - ไม่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป หากเป็นการใช้งานเพื่อบรรทุกหนัก ควรเลือกใช้ยางที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ

         - ไม่ควรขับขี่ด้วยความเร็วสูงมากเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในยางสูง อันเป็นสาเหตุ ให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น

         - ใช้ความเร็วในการขับขี่ที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการเบรกหยุดรถอย่างกระทันหัน หรือการออกตัวอย่างรุนแรง

         - ดูแลรักษาศูนย์ล้อและระบบช่วงล่างอย่างสม่ำเสมอ

         - หลีกเลี่ยงถนนที่มีสภาพทุรกันดาร ขรุขระ มีหลุมบ่อ หากต้องขับขี่บนถนนดังกล่าว ควรเลือกใช้ดอกยางให้ถูกประเภท และลดความเร็วในการขับขี่ลง

 

         สัญลักษณ์แสดงขีดจำกัดความเร็ว

         เป็นสัญลักษณ์ซึ่งบ่งบอกถึงขีดจำกัดความเร็วสูงสุดของยางที่สอดคล้องเหมาะสมกับความสามารถในการรับน้ำหนัก

          

สัญลักษณ์แสดง
ขีดจำกัดความเร็ว
ความเร็วสูงสุด 
(กม./ชม.)
สัญลักษณ์แสดง
ขีดจำกัดความเร็ว
ความเร็วสูงสุด 
(กม./ชม.)
A15K110
A210L120
A315M

130

A420N140
A525P150

ยางเรเดียล,ยางผ้าใบ,ยางรถยนต์
<<บทความก่อนหน้า บทความถัดไป>>
Facebook Twitter Google Digg Reddit LinkedIn Pinterest StumbleUpon Email