•   บทความ ›› การคำนวณค่ารับโหลด ที่ถูกต้องของแต่ละตำแหน่งล้อ

    การคำนวณค่ารับโหลด ที่ถูกต้องของแต่ละตำแหน่งล้อ


    ยกตัวอย่างที่ยางขนาด 16.00-25 32PR RL BRIDGESTONE

    จากตารางล้อที่ 0 km/hr stignition point or statics
    ล้อ load 4 ล้อ 22,500x4 = 90,000 kg
    ล้อเลี้ยว 2 ล้อ 18,000x2 = 36,000 kg
    total tire load = 90,000+36,000 = 126,000 kg > 100,000 load
    acceptable

    จากตารางล้อที่ 5 km/hr
    ล้อ load 4 ล้อ 18,125x4 = 72,500 kg
    ล้อเลี้ยว 2 ล้อ 14,500x2 = 29,000 kg
    total tire load = 72,500+29,000 = 101,500 kg > 100,000 load
    acceptable

    จากตารางล้อที่ 10 km/hr
    ล้อ load 4 ล้อ 16,875x4 = 67,500 kg
    ล้อเลี้ยว 2 ล้อ 13,500x2 = 27,000 kg
    total tire load = 67,500+27,000 = 94,500 kg < 100,000 load
    unacceptable

    ยางสามารถทำงานได้ดีตั้งแต่ 0-5 km/hr ค่าที่ดีที่สุดสามารถทำงานได้ดีคือไม่เกิน 5 km/hr

    ข้อเท็จจริงคือ
    1.ไม่สามารถเฉลี่ยค่าการรับน้ำหนักต่อล้อที่ 17 ตันเท่ากันทุกล้อได้ หากคำนวณด้วย 17,000×6=102,000 kg ในทาง engineering ไม่สามารถคำนวณอย่างนั้นได้ เพราะเป็นการคำนวณแบบ statics ไม่สามารถใช้งานได้จริง หาแต่ควรคำนวณแบบ dynamics ดังนั้นข้อกำหนดล้อละ 17 ตันไม่ใช่ข้อสรุปแบบการคำนวณแบบ dynamics ที่ถูกต้อง

    2. ในขณะที่ 0 km/hr เหตุใดถึงค่าการรับน้ำหนักถึงไม่เท่ากัน หากเป็นการคำนวณแบบ dynamics ที่ stignition point ไม่ใช่สภาวะหยุดนิ่งแต่เป็นสภาวะพร้อมเคลื่อนที่
    ล้อรับ load เป็น 22,500 kg
    ล้อเลี้ยว เป็น 18,000 kg
    ที่ล้อเลี้ยวรับน้ำหนักได้น้อยกว่าล้อรับ load เนื่องจากล้อเลี้ยวมีแรงบิดในแนวแกนหมุนเพิ่มมาอีกแนวแกน ขณะที่ล้อรับ load รับแรงของภาระงานเพียงอย่างเดียวนั่นเอง